เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
[820] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย เหล่านั้นเป็นไฉน
กิเลสวัตถุ 10 เหล่านี้สัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่ามีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
[821] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์อ่อน เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ 51 คือ
1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) 2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) 4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
อินทรีย์ 5 เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
ทำให้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน
[822] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์แก่กล้า เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ 5 เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มาก เพิ่มพูนขึ้นแล้ว
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
[823] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่ว เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดมีอาสวะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว มีธุลีคือ
กิเลสในปัญญาจักษุมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว
[824] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดี เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดที่มีอาสยะดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลีคือกิเลสในปัญญา
จักษุน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้นนี้ชื่อว่าผู้มีอาการดี
[825] สัตว์ทั้งหลายผู้ที่แนะนำให้เข้าใจได้ยาก เหล่านั้นเป็นไฉน
ก็สัตว์เหล่าใดมีอาการชั่ว สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ยาก
ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย
[826] สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน เช่นศรัทธาเป็นใหญ่ในการครอบงำความไม่มีศรัทธาเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :528 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
สัตว์เหล่านั้นใดประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ประกอบด้วยเครื่องกางกั้น
คือกิเลส ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มี
ปัญญาทราม ไม่ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยาม1ในสภาวธรรมที่เป็นกุศล
ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ไม่ควรบรรลุธรรม
[827] สัตว์ทั้งหลายผู้ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ไม่ประกอบด้วยเครื่อง
กางกั้นคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก มีศรัทธา มีฉันทะ มี
ปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยามในสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ควรบรรลุธรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่า
พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคล
เหล่าอื่นตามความเป็นจริง (6)

7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ผ่องแผ้วและการออกจากฌานเป็นต้นตามเป็นจริง)
[828] พระตถาคตทรงทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความ
เป็นจริง เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4 จำพวกชื่อว่าฌายี คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญ
ฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละผิดจากว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละผิดไปว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละว่ายังไม่ได้ก็มี เหล่านี้ชื่อ
ว่าโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4 จำพวก

เชิงอรรถ :
1 มรรค คือข้อกำหนดถึงความเป็นสิ่งที่ถูกต้อง 10 ประการ 8 ข้อข้างต้นตรงกับมรรค 8 เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ
สัมมาญาณ (รู้ชอบ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ)
(ที.ป. 11/348/240,360/282, อภิ.วิ.อ. 826/497)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :529 }